วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2560

บทที่ 6 การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนและการขายในรายการอาหาร



บทที่ 6 การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนและการขายในรายการอาหาร

วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายความหมายของจุดคุ้มทุนได้
2. คำนวณและวิเคราะห์จุดคุ้มทุนได้
3. คำนวณยอดขายและการทำกำไร (Menu Engineering) ในรายการอาหารได้

จุดคุ้มทุนหรือ (Break-Even Point) 
จุดคุ้มทุน (Break-Even Point) คือ จุดที่ปริมาณการขายหรือรายได้รับเท่ากับต้นทุนรวมพอดี หรือกล่าวได้ว่าเป็นจุดที่ร้านอาหารหรือภัตตาคารไม่มีกำไรและก็ไม่ขาดทุนนั่นเอง



สูตรการคำนวณหาจุดคุ้มทุน
จุดคุ้มทุน(BEP)     =              ต้นทุนคงที่ (FC)       
                                                     ราคาขาย(P) - ต้นทุนผันแปร (VC)

ตัวอย่าง 1
ร้านอาโออิราเมน ขายราเมนชามละ 50 บาท โดยมีต้นทุนในการทำราเมนทั้งหมดอยู่ที่ชามละ 35 บาท โดยมีต้นทุนคงที่ ดังนี้ ค่าเช่า 3,000 บาท และค่าจ้างพนักงาน 15,000 บาท อื่นๆ 1,500 บาท

ตัวอย่าง 2
ร้านข้าวไข่เจียว แห่งหนึ่งขายข้าวไข่เจียวเพียงอย่างเดียว โดยให้ลูกค้าสามารถเลือกใส่วัตถุดิบอื่นๆได้ 3 อย่าง โดยมีต้นทุนการผลิตอยู่ที่จานละ 15 บาท และขายที่ราคาจานละ 30 บาท และมีต้นทุนคงที่ต่อเดือนดังนี้ ค่าเช่าที่ 5,000 บาท ค่าจ้างพนักงาน 8,000 บาท ค่าธรรมเนียมของสินค้า (Brand Free) 1,000 บาท อื่นๆ 600 บาท และเจ้าของคาดว่าใน 1 วันจะขายได้ประมาณ 30 จาน โดยไม่มีวันหยุด จากข้อมูลดังกล่าว จงหาจุดคุ้มทุนของร้านข้าวไข่เจียวว่าต้องขายกี่จานและต้องขายกี่เดือนจึงจะคุ้มทุน

คำนวณยอดขายตามกำไรที่ตั้งไว้
                      ยอดขาย =   ต้นทุนคงที่ (FC) +  กำไรสุทธิหลังหักภาษี (NIAT)
                                                                               1 – อัตราภาษี (tr)                 .
                                                          อัตรากำไรส่วนเกิน (CM)
                Net Income After Tax (NIAT)             =              กำไรสุทธิหลังหักภาษี
                Tax Rate (tr)                                          =              อัตราภาษี
                Contribution Margin (CM)                   =              อัตรากำไรส่วนเกิน
                                CM                                          =              ราคาขาย - ต้นทุนผันแปร

ตัวอย่างต่อเนื่อง อาโออิราเมน
ถ้าร้านอาโออิราเมนต้องการ มีกำไรต่อเดือนหลังหักภาษีแล้วเดือนละ 20,000 บาท ร้านอาโออิราเมนควรขายกี่จาน โดยที่อัตราภาษีเท่ากับ 30%

ตัวอย่าง 3
ร้านผัดไทยลงทุนในอุปกรณ์ครั้งแรก 150,000 และมีข้อมูลต้นทุนและราคาขายต่อหน่วยในแต่ละเดือน ดังนี้
- ผัดไทยที่ละ 45 บาท
- ต้นทุนผันแปร อาหาร 35% ค่าจ้างรายวัน 5% อื่นๆ 5%
- ต้นทุนคงที่ ค่าเช่า 12,000 บาท เงินเดือน 48,000 บาท ค่าเบี้ยประกัน 
  2,800 บาท ค่าโฆษณา 2,500 บาท ค่าสาธารณูปโภค 3,020 บาท
- ค่าเสื่อมราคา 10% ของเงินลงทุนในอุปกรณ์
จงหาจุดคุ้มทุนและยอดขาย เมื่อต้องการกำไรสุทธิ 50,000 หลังหักภาษี 30%  

จุดคุ้มทุน (Breakeven Point) ในกรณีอาหารแต่ละจานให้กำไรไม่เท่ากัน
                  จุดคุ้มทุน              =                  ต้นทุนคงที่
                                                              อัตรากำไรส่วนเกินเฉลี่ย (CR)

CR   =     อัตรากำไรส่วนเกินเฉลี่ยอาหารประเภทที่ 1 + อัตรากำไรส่วนเกินเฉลี่ยอาหารประเภทที่ 2

อัตรากำไรส่วนเกินเฉลี่ยอาหารแต่ละประเภท  ยอดขายประเภทที่ 1 × ราคาอาหารประเภทที่ 1 ต้นทุนผันแปรประเภทที่ 1
                                                                              ยอดขายรวมทั้งหมด                              ราคาอาหารประเภทที่ 1

ตัวอย่าง 4
ร้านข้าวมันไก่ ขายข้าวมันไก่และข้าวมันไก่ทอด โดยมีข้อมูดังต่อไปนี้
- ข้าวมันไก่   ราคาจานละ 40 บาท ต้นทุนผันแปรจานละ 30 บาท
- ข้าวมันไก่ทอด ราคาจานละ 45 บาท ต้นทุนผันแปรจานละ 30 บาท
- ต้นทุนคงที่ ค่าเช่า 10,000 บาท ค่าแรงงาน 15,000 บาท ค่าอื่นๆ 4,250 บาท
- รายได้รวมต่อเดือนประมาณ  20,000 บาท โดย
                * รายได้จากข้าวมันไก่  12,000 บาท
                * รายได้จากข้าวมันไก่ทอด 8,000 บาท
จงหาจุดคุ้มทุนของร้านข้าวมันไก่

Menu Engineering
การวิเคราะห์การขายในรายการอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อนำมาปรับปรุงรายการอาหารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยการวิเคราะห์จะต้องทำหลังจากทางร้านได้ทดลองใช้รายการอาหารและเครื่องดื่ม (Menu) แล้วเก็บข้อมูลยอดขายของแต่ละรายการนำมาคำนวณ
ยอดขาย
กำไร
Star
สูง
สูง
Plow Horse
สูง
ต่ำ
Puzzles
ต่ำ
สูง
Dog
ต่ำ
ต่ำ

การวิเคราะห์รายการอาหารจาก Menu Engineering
Star เป็นที่นิยมและได้ผลกำไรดี รายการเด่น    ทางร้านจะต้องรักษาระดับมาตรฐานของอาหารให้คงที่ และควรจัดวางไว้ในส่วนที่เด่นหรือมีเครื่องหมายยอดนิยมของร้าน              
Plow Horses เป็นที่นิยมแต่ได้ผลกำไรต่ำ ทางร้านจะต้องควบคุมต้นทุนในการผลิต ลดคุณภาพของ
วัตถุดิบหรือ Re-Potion Size สามารถปรับราคาขึ้นได้ในรายการอาหารที่เป็นเอกลักษณ์
Puzzles ไม่เป็นที่นิยมแต่ได้ผลกำไรดี ทางร้านจะต้องทำการส่งเสริมการขายให้มากขึ้น เพื่อให้ลูกค้ารู้จักอาหารของเรา อาจจะมีการทำส่งเสริมการขาย ปรับปรุงคุณภาพหรือเพิ่มปริมาณต่อจาน
Dog ไม่เป็นที่นิยมและได้ผลกำไรต่ำ ทางร้านจะต้องจัดส่งเสริมการขายร่วมกับรายการอาหารอื่น หรือพิจารณาตัดออกจากรายการอาหาร    

............................................................................................................