วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2560

บทที่ 5 การออกแบบรายการอาหาร (Menu)



บทที่ 5 การออกแบบรายการอาหาร (Menu)

วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถ
1. จำแนกลักษณะของเมนูได้
2. วางแผนการทำเมนูที่ถูกต้องได้
3. สร้างเมนูได้

ทำไมจึงต้องออกแบบเมนู
1. เมนูเป็นเครื่องมือสำหรับการขายอาหารในร้านอาหารหรือภัตตาคาร
2. เมนูทำหน้าที่ในการแจ้งข้อมูลและรายละเอียดของรายการอาหารที่นำเสนอ
3. เมนูเป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่งร้านอาหารและภัตตาคาร
4. เมนูช่วยสร้างบรรยากาศของการบริการได้อย่างสมบูรณ์

การนำเสนอเมนูที่มีประสิทธิภาพ
1. มีความน่าสนใจและดึงดูดใจ (Attractive)
2. มีความสะอาด (Clean)
3. อ่านง่ายและเข้าใจง่าย (Easy to Read)
4. ความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy)
5. ความกลมกลืน (Uniformity)
6. การเน้นข้อมูลสำคัญ (High Light)

องค์ประกอบหลักในการออกแบบเมนู
1.รูปแบบเมนูทั่วไป (Physical Format)
1. Single Panel                      5. Multilane Fold
2. Two Panel                          6. Two-panel multi-page
3. Tri Fold                              7. Multi-page Menu
4. Tri Gate                             8. Design Variations
2. การจัดวางตำแหน่ง
1. รายการอาหารที่ทำกำไรมากที่สุดควรวางในตำแหน่งที่ดีที่สุด
2. ในร้านอาหารชั้นสูงนั้นการออกแบบเมนูจะไม่ค่อยนิยมใช้รูปภาพ
3. ร้านอาหารทั่วๆไปมักดึงดูดใจลูกค้าด้วยรายการอาหารที่มากมายหลากหลายด้วยรูปภาพ สีสัน
3. ตัวอักษร (Typeface)
1. ลักษณะของตัวอักษรจะช่วยในการสร้างบรรยากาศ
2. ลำดับอักษรจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ ชื่อหมวดของอาหาร ชื่ออาหาร และคำอธิบายรายการอาหาร
3. การใช้ลักษณะความเข้มอ่อนของตัวอักษร
4. คุณภาพของกระดาษ (Paper Quality)
1. กระดาษที่นิยมนำมาทำรายการอาหาร
2. วัสดุอื่นๆที่มักใช้แทนกระดาษ
5. สี (Color) กับ อารมณ์ (Emotional)
1. สีวรรณะร้อน ได้แก่ สีที่ให้ความรู้สึกร้อนแรง ฉูดฉาด สดใส รื่นเริง เช่น สีเหลือง สีแดง สีแสด เป็นต้น
2. สีวรรณะเย็น ได้แก่สีที่ให้ความรู้สึกสงบ เย็นไปจนถึงความโศกเศร้า เช่น สีน้ำเงิน สีม่วงเข้ม สีเขียว เป็นต้น
6. รูปภาพ (Graphic Design)
1. สัญลักษณ์ของร้าน (Logo)
2. รูปอาหารจานหลัก หรือรายการอาหารเด่นของร้าน
3. รูปอื่นๆที่นิยมใช้ในรายการอาหารมักจะสะท้อนถึงภาพลักษณ์ของร้านเสมอ เช่น รูปวาด รูปถ่าย กราฟฟิค รวมถึงกรอบรูปอาหารต่างๆ
7. การออกแบบปกรายการอาหาร (Menu Cover Design)
ปกของรายการอาหารควรที่ต้องสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของร้าน หรือรูปแบบของร้านได้อย่างชัดเจน เช่น ร้านอาหารไทย ร้านอาหารอิตาเลี่ยน ร้านอาหารจีน ร้านอาหารญี่ปุ่น

Menu Copy
1. ข้อความส่งเสริมการขาย (Merchandising copy)
- ข้อมูลร้านทั่วไป
- ประวัติของร้าน
- ประวัติคนดังที่เกี่ยวข้องกับร้าน
- เรื่องราวอื่นๆที่น่าสนใจของถิ่นที่ตั้งของทางร้าน
2. ชื่ออาหารที่สร้างสรรค์ (Accent copy)
- กุ้งห่มสไบ หอยโสร่ง  ทะเลเดือด ปราบจลาจล เสือร้องไห้ กุ้งเต้น ผัดขี้เมา
3. ข้อความอธิบายรายการอาหาร (Descriptive copy)
- คือการอธิบายถึงวัตถุดิบที่ประกอบอาหารในชื่ออาหารนั้นๆ อย่างคร่าวๆ รวมถึงวิธีการปรุงและคุณภาพของอาหารด้วย

ความจริงในรายการอาหาร (Truth in the Menu)
1. ขนาดและน้ำหนักของอาหาร
2. แหล่งที่มาของอาหาร
3. การปรุงแต่ง เช่น ต้ม ผัด แกง ทอด นึ่ง ตุ๋น
4. คุณภาพของวัตถุดิบหรือการอ้างอิงเรื่องโภชนาการ
5. ราคาของตัวรายการอาหาร ต้องระบุให้ชัดเจน อีกทั้งเรื่องของค่าบริการเพิ่มเติมอื่นๆ ต้องระบุในรายการอาหารด้วย

การใช้ภาษาต่างประเทศในรายการอาหาร
1. ภาษาท้องถิ่นที่ตั้งของร้าน
2. ภาษาอังกฤษ
3. ภาษาตามเชื้อชาติของรายการอาหารนั้นๆ

.......................................................................................